วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รวม 108 คาถา มหาระรวย

*********คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ**********


รัตตะนัตตะเย ปะมาเทนะ ทะวาระตะเย นะกะตัง สัพพัง ขะมะถะเม ภันเต

วันทามิ ภันเต เจติยัง สัพพังสัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง สารีรังกะธาตุ มะหาโพธิง

พุทธะรูปัง สักการังตัตถะ อะหังวันทามิ ธาตุโย อิจเจตัง รัตตะนัตตะยัง อะหังวันทามิสัพพะทา

พุทธะบูชา มะหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มะหัปปัญโญ สังฆะบูชา มะหาโภคาวะโห



พุทธังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ



ธัมมังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ



สังฆังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ

****************************************************

พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ (3 จบ)



อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส



พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอวัง ธาตุโย จัตตารี สะสะมา



ทันต เกสา โลมา นะขา ขีจะ อะหัง วันทามิ ธาตุโย



ข้าพเจ้า ขอน้อมนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย

*********************************************

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร

ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ



สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก

อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ



สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน

ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อั

ฏฐะปุริ สะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย

อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญัคเขตตัง โลกัสสาติ.



ขอดวงจิตที่ตกหล่นอยู่นรกภูมิ อบายภูมิ ขอจิตดวงนั้นอย่าพึงมี

พึงเกิดกับข้าพเจ้าและครอบครัว ตระกูล พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้องของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าขอเป็นตัวแทนของตระกูล ขอดวงจิตที่ตกหล่นเป็นกรรม จงมาร่วมอนุโมทนา

จิตที่เป็นกุศลของข้าพเจ้า ขอจงหลุดพ้น จงหลุดพ้น จงหลุดพ้น ขอดวงจิตขึ้นสู่มนุษย์สมบัติ

สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ นับแต่บัดนี้เทอญ



ขอมีทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอก มีสติปัญญาฉลาดหลักแหลม เรียนรู้ รับรู้

ได้รวดเร็ว มีความจำเป็นเลิศ ขอให้สัมมาอาชีพของข้าพเจ้าประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้า

รุ่งเรืองตลอดไป และขอให้ข้าพเจ้าได้พบเจอพระพุทธศาสนาทุกๆ ภพ ทุกๆ ชาติ



นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ

************************************



พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า



อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ



อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิๆ



ภาวนาทุกวันมิตกนรก เสกน้ำล้างหน้าทุกวันกันโรคภัยไข้เจ็บ

คุณไสยทั้งมวล ถ้าจะให้มีตะบะเดชะ ให้ภาวนาทุกวัน เกิดสง่าราศี

เป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ให้ภาวนาแล้วแผ่เมตตา ให้คนทั้งปวง ใครคิดร้ายก็ต้องมีอันเป็นไป

ถ้าปรารถนาสิ่งใด ให้ภาวนาคาถานี้ ๑๘ คาบ เป็นไปได้ดังใจนึก ถ้าจะให้เป็นมหาจังงัง

ให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบ เป็นมหาจังงังแล ถ้าจะให้เป็น มหาละลาย ให้ภาวนา ๙ คาบ

ถ้าช้างม้า วัวควาย สัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกิน กลับใจอ่อน รักเราแล

ถ้าภูตพรายมันเข้าอยู่คน เสกข้าวให้มันกินออกแล ถ้าปรารถนาจะให้เสียงเพราะ ให้เสกสีผึ้งสีปาก

เสกหมากกิน ไปเทศนา สวดร้องเป็น ที่พอใจคนทั้งหลาย ให้เสกแป้งผัดหน้า เสกมงกุฎรัดเกล้า

เป็นสง่าราศี ใครเห็นใครรักทุกคน อนึ่งให้เอาใบลานหรือกระดาษว่าว มาลงคาถา

นี้ทำให้เป็นมงคลเสกด้วยตัวเอง สารพัดกันศาสตราวุธทั้งหลาย เป็นวิเศษนัก พระคาถาบทนี้

พระมหากษัตริย์ แต่เก่าก่อน ทรงใช้ประจำทุกพระองค์แล

**********************************************************



คาถาบูชาพระสมเด็จ



ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง



อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา



ลาภผล โภคทรัพทย์ดีนักแล

*********************************

คาถาอาราธนาพระสมเด็จ



โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร



โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง



เมตตามหานิยมประเสริฐนัก

******************************

พระคาถาของหลวงพ่อปาน



วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา





คาถาเสริมทรัพทย์



ตั้งนะโม ๓ จบ



พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (๑ จบ)



วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา



วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สะวาโหม



******ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ ตื่นนอนเช้า ๓ จบ เวลาใส่บาตรจบขันข้าว ๑ จบ



แล้วให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย และพระปัจเจกโพธิ อย่าได้เว้น



นอกนั้นว่างเมื่อไร ท่องเมื่อนั้น จะบังเกิดโภคทรัพย์ มากมาย

*****************************



คาถามหาลาภ



นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณัง วา ระชะตัง วา มะณี วา



ธะนัง วา พิชัง วา อัตถัง วา ปัตถัง วา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมีมา นะมามิหัง



ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์ เรียกลาภ

********************************

คาถามหาพิทักษ์



จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง



ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่าง

****************************************



คาถามหาอำนาจ ( หลวงพ่อปาน )





เอวัง ระชะสีโห มะหานาทัง สีหะนาทะกัง สีหะนะ เม

สีละเตเชนะ นามะ ราชะสีโห,



อิทธิฤทธิ์ พระพุทธังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง ,



อิทธิฤทธิ์ พระธัมมังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง,



อิทธิฤทธิ์ พระสังฆังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง,



ใช้เสกน้ำล้างหน้าทุกเช้า จะมีอำนาจ คนยำเกรง ศัตรูพ่ายแพ้

************************************

คาถาอิทธิฤทธิ์ ( หลวงพ่อปาน )



พุทโธ พุทธัง นะกันตัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ

********************

คาถาป้องกันตัว



เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ที่มีศาสตราวุธร้ายแรงทุกชนิด

ทั้งมีด ไม้ ปืนหรือระเบิด ให้ภาวนาดังนี้



“ อุทธัง อัทโธ นะโมพุทธายะ ”



*****



คาถาบูชาเงิน ( ของเก่า )



อิติบูชาจะมหาราชา สัพพะเสน่ห์หา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธมามา



ยาตรายามดี วันชัยมารศรี สวัสดิลาโภ นะโมพุทธายะ



*****เป็นคาถาเก่าแก่ ผู้ใดสวดภาวนาเป็นประจำ

จะทำให้การดำเนินชีวิตประสบความผาสุกเจริญรุ่งเรือง



เป็นพ่อค้า แม่ค้า พาณิชย์ ทั้งน้อยใหญ่

จะบังเกิดโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูนดีนักแล



***** ******************************



คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร



( พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต )



ปัญะมาเร ชิโนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ



ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลังๆ



ป้องกันอันตรายทั้งปวงๆ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก



****************************************



คาถากำแพงแก้วเจ็ดชั้น



พุทธัง สัตตะรัตนะมหาปการัง สะระณัง คัจฉามิ



ธัมมัง สัตตะรัตนะมหาปการัง สะระณัง คัจฉามิ



สังฆัง สัตตะรัตนะมหาปการัง สะระณัง คัจฉามิ



****สำหรับสวดภาวนา เสมือนมีกำแพงแก้วมหึมา

มาคุ้มกัน แม้อยู่ในถิ่นอันตราย ศัตรูและสัตว์ร้าย



ไม่อาจทำอะไรได้ กลางคืนให้สวด ๗ จบ แล้วเอาจิต

วงรอบบ้าน เริ่มจากขวาไปซ้าย เป็นทักษิณาวัต



ป้องกันสรรพภัย วิเศษนักแล



***** ******************************



คาถามหานิยม



นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดูกับตัวกูนะ



อำนาจ เมตตา ดีนักแล



****************************



คาถาเสกน้ำล้างหน้าประจำวัน





เมื่อตักน้ำมาแล้ว ให้ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก เอานิ้วชี้ข้างขวาเขียน



“ มะอะอุ ” ลงในน้ำ พร้อมกับบริกรรมพุทธมนต์ มะอะอุ พ่นใส่น้ำ ๓ จบ

จึงอธิษฐานและสวดบทพระพุทธมนต์



“ พระพุทธล้างหน้า พระธรรมล้างทุกข์ พระสงฆ์เพิ่มสุข



ยาตรายามดี สวัสดีมีชัย อิติปิโสภะคะวา ”



******แล้วจึงล้างหน้า และประพรมตบท้ายทอย ๓ ครั้ง เจริญสุขยิ่ง



**********************







คาถาพระแก้วมรกต



วาละลุกัง สังวาตังวา ( ๓ จบ )



ท่านจะสุขกายสบายใจ อธิษฐานสิ่งใด จะได้สมประสงค์



*****
 



คาถาพญายม



ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุติ



จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ







ป้องกันภัยพิบัติทั้งปวง



*****




คาถาหลวงปู่ศุข ( วัดมะขามเฒ่า )


สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ “มะอะอุ”







ขึ้นรถลงเรือ ขึ้นเครื่องบิน ท่องเสมอ ป้องกันภัยพิบัติๆ



*****







พุทธะมังคะละคาถา สวดทุกวัน



( ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี )







สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม



โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคเณยเย จะ กัสสะโป



สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลิ จะ



ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ ควัมปะติ



โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อิสาเนปิ จะ ระหุโล



อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา



วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา



เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน



อิจเจวะมัจจันตะ นะมัสสะเนยยัง



นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง



ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง



ตัสสานุภาเวนะ หะตันระราโย







พุทธมังคลคาถานี้ หรือเรียกว่า คำนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ล้วนแต่มีฤทธิ์ ทุกองค์



เป็นมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่ในทางพระพุทธศานา เมื่อทำการสวดบูชาแล้ว ย่อมจะมีลาภผล



เป็นมิ่งมงคลและปราศจากอันตราย



ถ้าจะสวดแบบธรรมดา ก็ได้ โดยหัวหน้ากล่าวนำ



หันทะ มะยัง พุทธะมังคะละคาถาโย ภะณามะ เส



*****







คาถาบูชาดวงชาตา (ของเก่า )







นะโม เม สัพพะเทวานัง สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง



สุริยัญจะ ปุมุญจะถะ สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง



วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ ชีโว สุกะโร จะ มะหาลาภัง



โสโร ราหูเกตุ จะ มะหาลาภัง สัพพะภะยัง วินาสสันติ



สัพพะทุกขัง วินาสสันติ สัพพะโรคัง วินาสสันติ



ลักขะณา อะหัง วันทามิ สัพพะทา สัพเพ เทวา มัง ปาละยันตุ



สัพพะทา เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมๆ







เพื่อเสริมดวงชาตา จงผูกดวงชาตาของตน พร้อมเขียนชื่อนามสกุล ของตน ไว้ใต้ดวงชาตา



หรือดวงที่เรียกว่า “ ดวงพิชัยสงคราม” แล้วเอาดวงชาตาบรรจุ หรือวางตั้งไว้ข้างฐานพระ



เมื่อจะบูชาดวงชาตา พึงว่าคาถานี้ เพื่อจะได้เกิดลาภสักการะ เป็นสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลเลิศล้นดีนักแลๆ



*****







คาถาค้าขายดี ( ของเก่า )







พุทธัง พาหุชะนานัง



เอหิจิตตัง เอหิมะนุสสานัง



เอหิลาภัง เอหิเมตตา



ชมภูทีเป มะนุสสานัง



อิตถิโย ปูริโส จิตตัง พันธัง เอหิ







พ่อค้าแม่ค้าพาณิชย์ นิยมเสกเป่า ๓ จบ ๗ จบ ทำน้ำมนต์ล้างหน้า



และประพรมสินค้าขายของดีนักแล



( อธิษฐาน และใส่บาตรทุกวันตามศรัทธา จะบังเกิดโชคลาภ )



*****







คาถาอยู่เย็น



(หลวงพ่อโอภาสี วัดสวนบางมด ธนบุรี )







อิติสุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ



ปะฐะวีคงคง พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง







ภาวนาทุกครั้ง ที่นึกขึ้นมาได้ อย่างน้อยควร ๒ ครั้ง คือ เมื่อตื่นนอนเช้า และหลังสวดมนต์ก่อนนอน



ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข



*****





บูชานางกวัก




ทุสะนิมะ ธะมังโภคัง โอมระรวย มะหาระรวย โอมมะหาสิทธิโชค สหวาหะ



*****







อาราธนาพระสวมคอติดตัว




พุทธัง อาราธะนานัง



ธัมมัง อาราธะนานัง



สังฆัง อาระธะนานัง



พุทธังมาเลมาโสมาโภมามะ



ธัมมังมาเลมาโสมาโภมามะ



สังฆังมาเลมาโสมาโภมามะ



นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ นะมะพะทะ



*****







คาถามหาลาภ



(หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี )







น ชาลีติ ปะสิทธิลาภา ปะสันนะ จิตตา สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ



สัพเพ ชะนา พะหูชะนา สัพเพ ทิสา สะมาคะตา



กาละโภชะนา วิกาละโภชะนา อาคัจฉันติ ปิยัง มะมะๆ







ภาวนาทุกครั้ง ที่จะออกไปหาลาภ



*********************************



พระคาถาเรียกคน





ว่านะโม ๓ จบ



มะอะอุ สิวังพรหมมา จิตตังว จิตมนุษย์หญิงชายทั้งหลาย ทั่วทั้งแผ่นดิน



มานิมามา อาคัจฉาหิ มีจิตมารักกูทุกผู้ทุกคน อุอะมะ เกลื่อนกล่น กันมา



อะมะอุ บูชากูอย่าได้ขาด สัพพะบูชา มหาลาภัง ภะวันตุเมๆ



มะอะอุ สิวังพรหมมา จิตตัง มานิมา จิตตัง วา



ปุปผัง วา คันธัง วา ราชะกุมาโร วา ราชะกุมารี วา



อัคคะมะเหสี วา เทวี วา ราชา วา เสฏฐี วา สะมะโร วา



พรหมมะโณ วา อิตถี วา ปุริโส วา วานิชโช วา วานิชชา วา



เอหิเอหิ ปูชิตา อะหัง วันทามิ สัพพะทาๆ







คาถา ๒ บทนี้ คู่กัน บทแรก ให้เสกธูปหอมเสียก่อน จึงจุดขึ้น



เอาบทที่สอง สวดบูชาพระเรียกคน นำลาภสักการะมาให้ ใช้ทางค้าขายดีนักแลๆ



*****







พระคาถาพระสิวะลี







( นะโม ๓ จบ )



สีวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต ( ๙ จบ )







หมั่นสวดทุกวัน ค้าขายและโชคลาภดีมาก



*****







พระคาถาค้าขายดีมีโชคลาภ







( นะโม ๓ จบ )



นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง



สาธุ คิดอะไร ก็ได้อย่างนั้น คิดเงิน ได้เงิน คิดทอง ได้ทอง



ขอให้อยู่เย็นเป็นสุขทุกๆคน ขอให้อันตรายพ้นจากตัว



ขอให้พระเจ้าสิบหกพระองค์ช่วยด้วยสาธุ



*****







คำบูชาพระภูมิ







นะโม เม ชะยะมังคะลัง ภุมมะเทวานัง สักการะวันทานัง สาธุ สาธุ



*****







คำถวายเครื่องสังเวยพระภูมิเจ้าที่





อิมัง สูปะพยัญชะนะ สัมปันนัง สะอุทะกัง วะรัง ภุมมัสสะ เทมิๆ



*****







คำอำลาเครื่องสังเวยพระภูมิ เจ้าที่




เสสัง มังคะลัง ยาจามิ



*****




คำจบขันข้าวใส่บาตร

อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิกขูนัง นิยาเทมิ

สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง. นิพานะปัจจะโย โหตุ





ข้าวและทรัพย์ของข้าพเจ้า ได้มาโดยบริสุทธิ์ ยกขึ้นเหนือหัว



ขอบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จิตใจจำนงต่อพระนิพพาน



ขอให้ถึงเมืองแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้พบพระศรีอารย์



เข้าถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาลอันใกล้นี้ เทอญ



***** **********************


คำกรวดน้ำฉบับย่อ


อิทัง โน ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย





ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศล ให้กับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พรหมทั้งหลาย



พระยายมราชทั้งหลาย แม่พระธรณีทั้งหลาย เจ้าที่ทั้งหลาย บิดา มารดา



ญาติ มิตรสหายทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ทุกท่าน



****************************


คาถาไหว้พระบรมสารีริกธาตุ



วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเน สุปะติฏฐิตัง สารีริกะธาตุ มะหาโพธิง



พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทา



******************************



คาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ



ว่า นะโม ๓ จบ



อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ



อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ



***************************

บทกล่าวอัญเชิญและบูชาพระธาตุ

*****************************

คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

ปูชิตา นะระเทเวหิ, สัพพัฏฐาเน ปะติฎฐิตา,

สิระสา อาทะเรเนวะ, อะหัง วันทามิ ธาตุโย,

โย โทโส โมหะจิตเตนะ, วัตถุตตะเย กะโต มะยา,

โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต, สัพพะปาปัง วินัสสะตุ,

ธาตุโย วันทะมาเนนะ*, ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,

สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสาฯ

(* ถ้าผู้สวดเป็นหญิง เปลี่ยนคำว่า วันทะมาเนนะ เป็น วันทะมานายะ)

..........ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้านมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระบรมโลก

นาถสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานในที่ทุกสถาน ด้วยเศียรเกล้า

..........แม้บาปทั้งปวง ที่เคยล่วงเกินด้วยใหลหลง ข้าพระองค์ขอขมาโทษ ได้ทรงโปรดงด

โทษนั้น ให้มีอันวินาศสิ้นสูญไป

..........ด้วยเดชะกุศลผลบุญ ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้น้อมเกล้านมัสการพระบรมสารีริกธาตุ

ในกาลครั้งนี้ แม้สรรพอันตรายทั้งปวง จงอย่างได้บังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ.

*******************************

คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)

อะหัง วันทามิ อิธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย

ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.

ข้าพเจ้าขอนมัสการกราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้า

ประสบแต่ความสุขสวัสดี ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ



**************************

คำไหว้พระธาตุ

ยาปาตุภูตา อะตุลา

นุภาวาจีรัง ปะติฏฐา

สัมภะกัปปะ ปุเรเทเวนะ

ตุตตา อุตตะราภีทับยานะมานิ

หันตัง วะระชินะธาตุง

************************

พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ

อะหังวันทามิธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลาย

ที่สถิตอยู่ในจักรวาลทั้งหลาย ทั้งพรหมโลกและดาวดึงส์

อะหังวันทามิสัพพะโส ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และพระอรหันตสาวกทั้งหลายทั้งปวงด้วยเทอญ

พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอ วังธาตุโย จัตตารี สะ สะ

มาทันตา เกสา โลมา นะขา ขีจะ อะหังวันทามิธาตุโย

*****************************

พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ โลกานัง อะนุกัมปะโก

เวเนยยานัง ปะโพเธตา สันติมัคคานุสาสะโก

ธัมมะราชา ธัมมะสามี หิตายะ สัพพะปาณินัง

สุขุมัญ เจวะ คัมภีรัญจะ เทเสติ อะภิธัมมิกัง

สารีริกะธาตุโย ตัสสะ ยัตถาปิ อิธะ เจติยัง

สันติสุเข ปะติฏฐาติ อิสสะรา สาตะตัง ฐิตา

อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา

ทิฏฐะธัมเม วิโรเจมิ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

อิทธิง ปัปโปมิ เวปุลลัง วิรุฬหิง จุตตะริง สะทา

วัณณะวา พะละสัมปันโน นิรามะโย จะ นิพภะโย

สะทา ภัทรานิ ปัสสามิ ชะยะโสตถี ภะวันตุ เม ฯ



**********************************

คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ(หลวงปู่ประสาร สุมโน)



... นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ

ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม(หลายคนว่าโน..คนเดียวว่าเม) ภันเต

วันทามิภันเต เจติยัง, สัพพัง สัพพัตถะ ฐาเน, สุปะติฏฐิตัง สารีรังกะธาตุง,

มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สักการัตถัง, อะหัง วันทามิ ธาตุโย, อะหัง วันทามิ สัพพะโส,

อิจเจตังระตะนัตยัง, อะหังวันทามิ สัพพะทา,

พุทธะบูชา มะหาเตชะวันโต, ธัมมะบูชา มะหัปปัญโญ, สังฆะบูชา มะหาโภคาวะโห,



พุทธังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ



ธัมมังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ



สังฆังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ



ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต, ปะริสุทโธติ มัง,

พุทโธ ธัมโม สังโฆ ธาเรตุ

***********************************

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,



อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง,



สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,



อุกาสะ ขมามิ ภันเต ฯ "





หากข้าพเจ้าจงใจ หรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา มารดา ครูบาอาจารย์

พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วยกาย วาจา ใจ ก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย





หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมาขออนุญาตมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป

ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน





ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วยอายุ

วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใดๆ

โรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลก ทางธรรม

ตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพานเทอญ





หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้

ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาต และคำสาปแช่งในทุกชาติทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาป

แช่งของปวงชน ของเจ้ากรรมนายเวร ขอให้พ้นนรกภูมิ พบแสงสว่างทั้งทางโลก ทางธรรรมเทอญ





“คนเราเกิดมาหลายภพชาติ ต่างมีเจ้ากรรมนายเวรต่างกัน การสวดขอขมาเพื่อลดปลดหนี้กรรมให้น้อยลง”



(ขอผู้ได้รับใบขอขมาและอธิษฐานจิตนี้ กรุณาส่งให้คนอื่นต่อเพื่อสร้างผลบุญบารมีต่อไป)



**********************************

ว่า นะโม ๓ จบ



คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ

รัตตะนัตตะเย ปะมาเทนะ ทะวาระตะเย นะกะตัง สัพพัง ขะมะถะเม ภันเต

วันทามิ ภันเต เจติยัง สัพพังสัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง สารีรังกะธาตุ มะหาโพธิง

พุทธะรูปัง สักการังตัตถะ อะหังวันทามิ ธาตุโย อิจเจตัง รัตตะนัตตะยัง อะหังวันทามิสัพพะทา

พุทธะบูชา มะหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มะหัปปัญโญ สังฆะบูชา มะหาโภคาวะโห



พุทธังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ



ธัมมังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ



สังฆังชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระณังคัจฉามิ

*************************

คาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ



ว่า นะโม ๓ จบ



อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ



อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ



*****************************

บันทึกการทำความดีของศิษย์เก่าบว 18 ทอดผ้าป่าวันวิสาขบูชา ณ.วัดเขาพระ










เนื่องในวันวิสาขบูชา วันที่ 28 พค 2553 ที่ผ่านมา คณะศิษย์เก่าบว18 ได้ร่วมกันรวบรวมเงินเพื่อนำ
ไปทอดผ้าป่าสามัคคีที่วัดเขาพระ  ตั้งอยู่ริมเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ จังหวัดลพบุรี (รวมเงินได้ประมาณ 1.3 แสนบาทเศษ)  ขอย้อนความหลังให้ท่านที่ยังไม่ทราบจะได้เข้าใจ คือว่าพระอาจารย์ สวง กิตติสาโร ท่านเป็นเพื่อนนักเรียนบางเลนวิทยา(รุ่นบว18)เช่นกัน และเมื่อยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ท่านได้ออกเดินธุดงมาพบแหล่งชัยภูมิมังกรคาบแก้ว ตามตำราพุทธศาสตร์ ณ. ที่ที่เป็นที่ตั้งของวัดเขาพระแห่งนี้  ท่านจึงดำเนินการทูลเกล้าขอผืนดินแปลงนี้เพื่อเป็นที่สร้างวัด หลังจากได้รับโปรดเกล้าพระราชทานแล้ว ท่านจึงมุ่งมั่นเป็นพระผู้นำในการจัดหาทุนทรัพย์และลงแรงกายของท่านด้วยมือท่านเองเป็นผู้สร้างจนปรากฏให้เห็นดั่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ธรรมะแห่งพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าถึงแหล่งต้นน้ำของลำน้ำป่าสักและพุทธศาสนาจะได้เจริญรุ่งเรืองควบคู่ไปกับบ้านเมือง ตามคำกล่าวที่ว่าบ้านเมืองจะดีและเจริญรุ่งเรือง ชาวประชาจะต้องมีวิชาความรู้และควบคู่กับคุณธรรม หากเมืองใดขาดสิ่งหนึ่งไปก็ไม่สามารถอยู่รอดอย่างสงบได้

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

วัน วิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6


วันวิสาขบูชา


เชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระ พุทธศาสนาอย่าง วันวิสาขบูชา กันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวัน วิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่า

ความ หมายของ วันวิสาขบูชา

คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาข ปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

การ กำหนด วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ตรง กับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติ วันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่

1. วัน วิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระ ราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้น ด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตร สัมโพธิญาณ

หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ

วัน วิสาขบูชา

ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา


3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดู ก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น



ประวัติ ความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย

ปรากฎหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ.420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนา กับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อ เนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

วัน วิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวล มนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน

การ ประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา

การประกอบพิธี ใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

กิจกรรม ใน วันวิสาขบูชา

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึง ปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

หลัก ธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

1. ความกตัญญู

คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระ พุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

2. อริยสัจ 4

คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลาดจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ


3. ความไม่ประมาท

คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการ ดำรงชีวิต